วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทเรียนที่ 3 การตัดต่อภาพด้วย เครื่องมือ Lasso Tool

ความหมายของ คำสั่ง Lasso Tool แต่ละอย่าง



1.Lasso Tool
คำสั่งสร้าง Selection แบบคลิกค้าง และลากไปตามเส้นทางที่ต้องการจนมาบรรจบกัน

2.Polygonal Lasso Tool
คำสั่งสร้าง Selection แบบคลิกลากทีละจุด และลากมาบรรจบกัน

3.Magnetic Lasso Tool
คำสั่งสร้าง Selection แบบคลิกและลากเม้าส์ไปบริเวณสีใกล้เคียง Photoshop จะสร้างให้อัตโนม้ติคล้ายมีแม่เหล็กดูด


วิธีการใช้งาน Lasso Tool


1.เปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการด้วยโปรแกรม Photoshop

2.คลิกเครื่องมือ Lasso Tool ในบทความนี้ จะทดสอบด้วย Polygonal Lasso Tool
จากนั้นเริ่มทดสอบโดยการคลิกตำแหน่งแรกของภาพ จากนั้น ก็คลิกไปยังตำแหน่งถัดไป (คล้ายการลากเส้นรอบขอบรูป)

3.ทำอย่างนี้จะกระทั่ง เส้นที่เราเลือกมาบรรจบกัน
ถ้าบรรจบกันพอดี เราจะได้เส้น Selection รอบภาพหรือตำแหน่งที่เราต้องการ
แนะนำให้ลองเลือกเครื่องมือ Lasso Tool ตัวอื่นๆ ที่เหมาะสมกับการตัดรูปนั้นๆ




บทเรียนที่ 2 การใช้งานเลเยอร์

รู้จักกับเลเยอร์ (Layers)

           เลเยอร์เปรียบเสมือนแผ่นพลาสติกใสที่ประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพ
ที่นำมาว่างเรียงซ้อนกันจนกลายเป็นชิ้นเดียว โดยภาพในเลเยอร์บนจะบังเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่าง
         
           การใช้เลเยอร์ช่วยให้เราสามารถแก้ไขภาพแต่ละส่วนได้ง่ายและเป็นอิสระขึ้น  โดยไม่ต้องแก้ไขทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถสลับลำดับการซ่อนและแสดงเลเยอร์ได้  เราสามารถใช้งานและจัดการเลเยอร์ต่างๆ ได้โดยผ่านพาเลท Layers
( คลิกเมนู Window > Layers หรือกดแป้น F7)  เช่น การเลือก การเปลี่ยนลำดับ การซ่อน/แสดง การเพิ่ม/ลด เป็นต้น




1. รูปแบบผสมเลเยอร์                                  8. สร้างเลเยอร์ใหม่
 2. ความโปร่งใสของภาพ                            9. สร้างเลเยอร์เซ็ต
 3. ความโปร่งใสของภาพในเลเยอร์            10. สร้างเลเยอร์สำหรับปรับสีภาพ
 4. เลเยอร์ที่กำลังเลือก                               11. สร้างเลเยอร์มาสก์
 5. ชื่อเลเยอร์                                              12. ใส่เอฟเฟ็กต์ให้เลเยอร์
 6. สัญลักษณ์ล็อคเลเยอร์                           13. ลิงก์/ยกเลิกลิงก์ 
 7. ลบเลเยอร์                                              14. ซ่อน/แสดงเลเยอร์
                                                                    15. รูปแบบการล็อคเลเยอร์




การใช้คำสั่งจัดการกับเลเยอร์
การสร้างเลเยอร์ใหม่

ซึ่งเลเยอร์ที่สร้างใหม่จะมีพื้นหลังแบบโปร่งใสเสมอและจะมีชื่อ Layer1,Layer2 , Layer3  ตามลำดับ


เราสามารถสร้างเลเยอร์ใหม่ขึ้นมาซ้อนเลเยอร์ที่มีอยู่แล้วได้ โดยคลิกปุ่ม New Layer (ดังภาพ)  ซึ่งเลเยอร์ที่สร้างใหม่จะมีพื้นหลังแบบโปร่งใสเสมอและจะมีชื่อ Layer1,Layer2 , Layer3  ตามลำดับ





บทเรียนที่ 1 การสร้างไฟล์ใหม่ (กระดานออกแบบ)



1. คลิกเลือกเมนูคำสั่ง File เลือกคำสั่ง New หรือกดแป้นพิมพ์ Ctrl + N



จะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ New ดังรูป

ไดอะล็อกซ์บล็อกซ์ของคำสั่ง New ซึ่งสามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ในการสร้างงานใหม่



2. เลือกวิธีการสร้างหรือกำหนดขนาดของกระดานออกแบบ (Preset) โดยปกติแล้วจะเลือกเป็นแบบ Custom (ซึ่งเป็นแบบที่สามารถกำหนดได้ตามความต้องการของตนเอง)

3. กำหนดขนาดความกว้างและความสูงของกระดานออกแบบ โดยกำหนดออปชั่นต่าง ๆ ดังนี้
    Width    กำหนดความกว้างของกระดานออกแบบ 
    Height  กำหนดความสูงของกระดานออกแบบ
    Resolution  กำหนดความละเอียดของภาพ หากกำหนดค่ามาก จะทำให้เกิดความละเอียดสูง  แต่จะทำให้ขนาดไฟล์ใหญ่ตามไปด้วย นอกจากนั้นยังต้องกำหนดด้วยว่าจะให้ค่า พิกเซลต่อขนาดใด เช่น 72 Pixel / Inch คือ กำหนดความละเอียด 72 พิกเซลต่อนิ้ว
    Color Mode กำหนดโหมดสีภาพเพื่อใช้ในการสร้างกระดานออกแบบ

4. เลือกลักษณะฉากหลัง  (Background Contents) ของกระดานออกแบบว่าจะให้สร้างในรูปแบบใด ได้แก่  White กำหนดให้ฉากหลังเป็นสีขาว 
 Background Color กำหนดสีฉากหลังที่สร้างขึ้นมาให้เป็นสีเดียวกับสีที่กำหนดไว้ในภายในกล่องเครื่องมือ  Transparent กำหนดให้ฉากหลังเป็นแบบโปร่งใส

5. เมื่อปรับรายละเอียดต่าง ๆ ตามต้องการแล้ว คลิกปุ่ม OK จะทำให้ได้พื้นที่ทำงานใหม่ ดังรูป